- Articles
58 results
-
พระพุทธเจ้า 28 พระองค์
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ย้อนขึ้นไป 28 พระองค์(นับตั้งแต่ สมเด็จองค์ปัจจุบัน) คัดลอกจากหนังสือ หลวงปู่สอนหลาน หน้า 142-170 พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ นี้ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้คัดลอกจากภาษาล้านนา และแปลเก็บไว้ในหอพระไตรปิฎก ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอ ลี้ ลำพูน ที่มาจาก..เวปพลังจิตครับ โดยคุณมหาหิน.. ความแตกต่างขององค์สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้า บางประการ.... วรรณะของพระองค์ (เท่าที่พบ มี พราหมณ์ และ กษัตริย์), พุทธลักษณะ -
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ -
กายคตาสติ
กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า -
ธรรมทำความเป็นสมณพราหมณ์
ธรรมเป็นเครื่องทำความเป็นสมณะ และเป็นเครื่องทำความเป็นพราหมณ์ (และกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป ตามลำดับ) เป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ., เราทั้งหลายจักมีกายสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น, เราทั้งหลายจักมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวังจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์นั้น., เราทั้งหลายจักมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีมโนสมาจารบริสุทธิ์นั้น., เราทั้งหลายจักมีอาชีวะบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง -
พรานปลูกหญ้าล่อเนื้อ
พรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อ ด้วยคิดว่า เมื่อฝูงเนื้อกินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้ จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณ มีชีวิตอยู่ยืนนาน โดยที่แท้ พรานเนื้อปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อ ด้วยมีความประสงค์ว่า ฝูงเนื้อเข้ามาสู่ป่าหญ้า ที่เราปลูกไว้นี้แล้ว จักลืมตัวกินหญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักมัวเมา เมื่อมัวเมา ก็จักประมาท เมื่อประมาท ก็จักถูกเราทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านี้ บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อได้ -
สัมมาทิฏฐิสูตร
เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดอย่างนี้ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวงละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด -
ผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุเท่าไร... ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั้นเป็นฐานะที่มีได้, ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั่นเป็นฐานะที่มีได้, ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส -
บุรุษแสวงหาแก่นไม้
มหาสาโรปมสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมด้วย ลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ อันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะ และความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ -
เจริญอานาปานสติ บำเพ็ญสติปัฏฐาน๔ ให้บริบูรณ์
อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ -
เหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไป ไม่แทงตลอดนิมิต
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้น...ย่อมหายไปได้...ยังไม่แทงตลอดนิมิตนั้น อะไร... เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ อมนสิการแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อมนสิการเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ -
อกุศลกรรมบถ-กุศลกรรมบถ
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ความประพฤติเรียบร้อยคือความประพฤติธรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจ -
นิมิตห้าประการและวิตก
ภิกษุผู้ผู้หมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิตห้าประการ ตามเวลาอันสมควร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ -
การตรัสรู้สัจจะ การบรรลุสัจจะ
บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ -
ปริศนาจอมปลวก
จอมปลวกนี้พ่นควันในกลางคืน ลุกโพลงในกลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงเอาศาตราไปขุดดู. -
คุณและโทษของกาม
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณห้า เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย -
เหตุให้ละความง่วงได้และการป้องกันจิตห่างจากสมาธิ
เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล (พระพุทธองค์ ทรง)ไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต (พระพุทธองค์ ทรง)สรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะ อันใดเงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากการสัญจรของหมู่ชน ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการความสงัด ควรเป็นที่หลีกออกเร้น -
คำนึง-ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว (จำแนกเนื้อความ)
...อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว...อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว -
มุ่งหวัง-ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง (จำแนกเนื้อความ)
...อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง...อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง -
รวบรวมธรรมะในพระพุทธศาสนา
รวบรวมธรรมะ เพื่อประกอบการศึกษาพระพุทธศาสนา เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและครบถ้วน กรุณาอ่านเพิ่มตามที่มา(ในส่วนอ้างอิง) หลักธรรม[] ปฏิปทาสายกลาง, อกุศลกรรมบถ-กุศลกรรมบถ, สัมมาทิฏฐิสูตร, เจริญอานาปานสติ บำเพ็ญสติปัฏฐาน๔ ให้บริบูรณ์, เจริญสติปัฏฐาน๔ บำเพ็ญโพชฌงค์๗ ให้บริบูรณ์, กายคตาสติ, กิเลสและบุคคลสี่จำพวก, อุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิต, เครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ, เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เหตุแห่งการหลีกเลี่ยงคนชั่ว เหตุแห่งความดับสนิท, คุณและโทษของกาม, ธรรมทำให้เป็นคนว่ายาก ธรรมทำให้เป็นคนว่าง่าย, ตะปูตรึงใจ เครื่องผูกพันใจ, นิมิตห้าประการและวิตก, การตรัสรู้สัจจะ การบรรลุสัจจะ, ธรรมสี่ประการ-ที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว -
ง่อนแง่น-ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
...อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน...อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน -
เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เหตุแห่งการหลีกเลี่ยงคนชั่ว เหตุแห่งความดับสนิท
...(โดยนัยคล้ายๆกันนี้กับ ๔๔ ประการข้างต้น)...(โดยนัยคล้ายๆกันนี้กับ ๔๔ ประการข้างต้น) -
เจริญสติปัฏฐาน๔ บำเพ็ญโพชฌงค์๗ ให้บริบูรณ์
เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ -
กิเลสและบุคคลสี่จำพวก
เหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ เจ้าของก็ไม่ใช้ และไม่ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ซ้ำเก็บมันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นอย่างนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิมจับยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ เจ้าของใช้ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บมันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่นภาชนะสัมฤทธิ์จะเป็นของหมดจดผ่องใส -
ผู้ฉลาดในธาตุ
ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร...เหล่านี้แล ธาตุ 18 อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ -
นิวรณ์เปรียบดัง หนี้,โรค,เรือนจำ,ความเป็นทาส,ทางไกลกันดาร
ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร. และพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล. ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ (กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร. และพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕
Related Community

Genshin Impact Wiki
games
2K
Pages20K
Images800
Videos
Genshin Impact Wiki is a community site that anyone can contribute to. Discover, share and add your knowledge!