พระไตรปิฎกออนไลน
Register
Advertisement

ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

  1. รู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล
  2. รู้ชัดซึ่งอาหารเหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร
  3. รู้ชัดซึ่งทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
  4. รู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา และมรณะ
  5. รู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ
  6. รู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ
  7. รู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
  8. รู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา
  9. รู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
  10. รู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับแห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖
  11. รู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป
  12. รู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
  13. รู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร
  14. รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา
  15. รู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดอย่างนี้ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวงละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

อกุศล[]

อกุศล ได้แก่

  1. ฆ่าสัตว์
  2. ลักทรัพย์
  3. ประพฤติผิดในกาม
  4. พูดเท็จ
  5. พูดส่อเสียด
  6. พูดคำหยาบ
  7. พูดเพ้อเจ้อ
  8. อยากได้ของผู้อื่น
  9. ปองร้ายเขา
  10. เห็นผิด

รากเง่าของอกุศล ได้แก่

  1. โลภะ
  2. โทสะ
  3. โมหะ

กุศล[]

กุศล ได้แก่

  1. ความเว้นจากฆ่าสัตว์
  2. ความเว้นจากลักทรัพย์
  3. ความเว้นจากประพฤติผิดในกาม
  4. ความเว้นจากพูดเท็จ
  5. ความเว้นจากพูดส่อเสียด
  6. ความเว้นจากพูดคำหยาบ
  7. ความเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
  8. ความเว้นจากไม่อยากได้ของผู้อื่น
  9. ความเว้นจากไม่ปองร้ายเขา
  10. เห็นชอบ

รากเง่าของกุศล ได้แก่

  1. อโลภะ
  2. อโทสะ
  3. อโมหะ

อาหาร[]

อาหาร เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหารสี่อย่าง คือ

  1. อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
  2. อาหาร คือ ผัสสะ
  3. อาหาร คือ ความคิดอ่าน (เจตนา จงใจ)
  4. อาหาร คือ วิญญาณ (ความรู้แจ้งทางทวารหก)

เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด

ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหาดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร

ทุกข์[]

ทุกข์ ได้แก่

  1. ความเกิด
  2. ความแก่
  3. ความตาย
  4. ความแห้งใจ
  5. ความพิไรรำพัน
  6. ความไม่สบายกาย
  7. ความเสียใจ
  8. ความคับแค้นใจ
  9. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
  10. ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
  11. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง

แต่ละอย่างๆ ล้วนเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นทุกข์

ทุกขสมุทัย ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถ แห่งความเพลินเพลิดเพลินยิ่ง ในอารมณ์นั้นๆ คือ

  1. กามตัณหา
  2. ภวตัณหา
  3. วิภวตัณหา

ทุกขนิโรธ ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหา

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ชราและมรณะ[]

ชรา ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

มรณะ ได้แก่ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ

เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด

ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ

ชาติ[]

ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ

เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพเป็นเหตุให้เกิด

ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ

ภพ[]

ภพ ได้แก่ ภพสาม เหล่านี้ คือ

  1. กามภพ
  2. รูปภพ
  3. อรูปภพ

เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด

ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ

ตัณหา[]

ตัณหา ได้แก่ ตัณหาหกหมวดเหล่านี้ คือ

  1. ตัณหาในรูป
  2. ตัณหาในเสียง
  3. ตัณหาในกลิ่น
  4. ตัณหาในรส
  5. ตัณหาในโผฏฐัพพะ
  6. ตัณหาในธรรม(ธรรมารมณ์ ความนึกคิด)

เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็นเหตุให้เกิด

ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา

เวทนา[]

เวทนา ได้แก่ เวทนาหกหมวดเหล่านี้ คือ

  1. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
  2. เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
  3. เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส
  4. เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
  5. เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
  6. เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส

เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด

ความดับเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา

ผัสสะ[]

ผัสสะ ได้แก่ ผัสสะหกหมวด คือ

  1. จักขุสัมผัส
  2. โสตสัมผัส
  3. ฆานสัมผัส
  4. ชิวหาสัมผัส
  5. กายสัมผัส
  6. มโนสัมผัส

เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะหก เป็นเหตุให้เกิด

ความดับผัสสะย่อมมีเพราะผัสสะดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ

อายนะหก[]

อายนะหก ได้แก่ อายตนะหกเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เหตุเกิดแห่งอายตนหก ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด

ความดับอายตนหก ย่อมมีเพราะนามรูปดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองคแปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะหก

นามรูป[]

เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม

มหาภูตรูปสี่ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูปสี่ อันนี้เรียกว่ารูป

นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป

เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด

ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป

วิญญาณ[]

วิญญาณ ได้แก่ วิญญาณหกหมวดเหล่านี้ คือ

  1. จักขุวิญญาณ
  2. โสตวิญญาณ
  3. ฆานวิญญาณ
  4. ชิวหาวิญญาณ
  5. กายวิญญาณ
  6. มโนวิญญาณ

เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุให้เกิด

ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ

สังขาร[]

สังขาร ได้แก่ สังขารสามเหล่านี้ คือ

  1. กายสังขาร
  2. วจีสังขาร
  3. จิตตสังขาร

เหตุเกิดแห่งสังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด

ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร

อวิชชา[]

ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา

เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด

ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา

อาสวะ[]

อาสวะ ได้แก่ อาสวะสามเหล่านี้ คือ

  1. กามาสวะ
  2. ภวาสวะ
  3. อวิชชาสวะ

เหตุเกิดแห่งอาสวะย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด

ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ

อ้างอิง[]

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและครบถ้วน กรุณาอ่านเพิ่มเติมที่

Advertisement